”ปลูก 100 ป่า ก็เข้า Ivy League ไม่ได้“ 🌳🇺🇸
คุณพ่อคุณแม่หลายท่านยังมีความเชื่อว่า ถ้าจะเข้ามหาวิทยาลัยระดับ Ivy League, Oxford, Cambridge หรือเทียบเท่า ต้องทำกิจกรรมเยอะๆ จึงมักสนับสนุนให้ลูกทำกิจกรรมตามเพื่อนๆ เช่นเวลามีงานอาสาปลูกป่า, แจกของเด็กด้อยโอกาส, บริจาคเลือด ก็ไปหมด ทั้งๆ ที่ตัวของลูกอาจจะไม่อินและฝืนใจไปทุกครั้ง เพียงเพื่อให้ Profile ดูดี
วันนี้ ผมอยากให้คุณพ่อคุณแม่ลบภาพจำว่า “กิจกรรม” เท่ากับ ปลูกป่า, บริจาคเลือด, ไปค่ายอาสา, บริจาคสิ่งของ หรืองานจิตอาสาอื่นๆ เท่านั้น เพราะจริงๆ แล้วสิ่งที่นับเป็นกิจกรรมได้ มีอีกเยอะมาก เช่น
- การแข่งขันและรางวัล (Award/Competition)
- ประกาศนียบัตร (Certificates)
- งานวิจัย (Research)
- โปรเจกต์ส่วนตัว (Self-initiated Project)
- ฝึกงาน (Internship)
- กีฬา, ดนตรี, ภาษา เป็นต้น
“กิจกรรม” จึงไม่ใช่สิ่งที่ต้องแสดงว่าลูกเป็น “คนดี” ยอมตากแดด ตากฝน เพื่อช่วยเหลือคนอื่นเท่านั้น แต่ต้องเป็นสิ่งที่ทำเพื่อคนอื่นในแบบของตัวเองในทางใดทางหนึ่ง เช่น อยู่บ้านเขียน Blog เรื่อง Coding ก็นับเป็นกิจกรรมที่ดีได้ครับ
แต่จะทำกิจกรรมอะไรนั้น ต้องดูก่อนว่าลูกชอบอะไรและเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยมองหาหรือไม่ แล้วพยายามทำสิ่งที่ชอบให้โดดเด่น ให้เห็นเป็น Theme ชัดเจน อย่าสะเปะสะปะ เพราะคนที่ทำทุกอย่างแต่ไม่มีอะไรโดดเด่น สุดท้ายจะถูกกลืนในกองใบสมัครอีก 10,000+ ฉบับจากคู่แข่งทั่วโลก
น้องมินเป็นเด็กที่ไม่ชอบค่ายอาสาเลย เกลียดดิน กลัวแดด กลัวแมลง แต่น้องชอบ Dancing มากและชอบเล่าเรื่องผ่านคลิปวิดีโอ
สิ่งที่ผมและ EverLearnX แนะนำให้น้องทำ คือสร้างช่องใน YouTube สอนเทคนิคการเต้นให้กับเด็กไทยอายุ 12-18 ปี ลงคลิปสัปดาห์ละ 1 ครั้งอย่างต่อเนื่องตลอด 2 ปี
จากผู้ติดตามหลักสิบ ค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนมีผู้ติดตาม 10,000 คน และมีโรงเรียนสอนเต้นหลายแห่งเปิดคลิปของน้องให้นักเรียนดู
กิจกรรมแบบนี้นับเป็น “Self-Initiated Project”
และคือสิ่งที่มหาวิทยาลัยระดับ Ivy League มองว่าน่าสนใจ และมี Passion จริง มากกว่าน้องๆ ที่ฝืนทำกิจกรรมที่ตัวเองไม่อินเพียงเพื่อให้ดูดีครับ
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยไม่ได้ดูแค่ว่าทำกิจกรรม “อะไร”
แต่ดูด้วยว่า ทำกิจกรรม “ระดับไหน” ด้วยครับ ซึ่งผมขอแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
Join คือเข้าร่วมเฉยๆ เช่น ไปปลูกป่า, ร่วมเป็นอาสาสมัครแจกของขวัญเด็กต่างจังหวัด แบบไปเป็นครั้งคราว คราวละ 1-2 วัน เป็นต้น
Lead คือเป็นหนึ่งในทีมผู้จัดงาน เช่น เป็น President ของชมรม, เป็นรอง President ดูแลเรื่อง Finance ของชมรม เป็นต้น แสดงถึงความจริงจังและ Passion ได้ดีกว่าอันแรก เพราะต้องทุ่มแรงกายมากกว่า
Initiate คือเป็นคนคิดและลงมือทำเองตั้งแต่แรก เช่น ทำ VDO สอน Dancing ลง YouTube, ทำ Blog แชร์ความรู้เรื่องที่ถนัด, เขียนหนังสือเกี่ยวกับเคล็ดลับการเรียนมัธยมปลายอย่างมีความสุข เป็นต้น ซึ่งแสดงถึงความจริงจังและ Passion ขั้นสูงสุด
.
ปกติแล้ว ถ้าลูกจะสมัครมหาวิทยาลัยระดับ Ivy League จะต้องทำผ่านระบบ Common App โดยสามารถกรอกตัวกิจกรรมได้สูงสุด 10 กิจกรรม ซึ่งผมแนะนำว่าควรกรอกให้เต็มครับ และอย่างน้อยควรมีกิจกรรมระดับ Lead และ Initiate รวมกัน 4 อย่าง และต้องทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำแค่ครั้งเดียวจบ และที่สำคัญคือ เริ่มให้เร็ว เพราะถ้าเริ่มช้าเกินไป มหาวิทยาลัยจะรู้ทันว่าลูกทำเพราะอยากสมัคร ไม่ได้มาจาก Passion จริง
.
ทีนี้ เราจะรู้ได้อย่างไร ว่า Profile ของลูกเด่นพอหรือยัง?
.
ก่อนส่งใบสมัคร ผมแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่และลูกลองถามตัวเองดูครับ ว่า … “ถ้าเพื่อนของลูกจะทำกิจกรรมให้ได้ระดับเดียวกันนี้ ต้องใช้เวลาอีกนานมั้ย?” ถ้าคำตอบคือ … อีกแป้บเดียวก็ทำทันแล้ว
แสดงว่า โปรไฟล์ของลูกยังไม่เด่นพอครับ แต่ถ้าคำตอบคือ ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1-2 ปี กว่าจะทำได้เทียบเท่า แสดงว่าลูกมีความได้เปรียบจริงๆ
.
อย่าลืมนะครับ มหาวิทยาลัยไม่ได้หา “คนดี” แต่หาคนที่รู้ว่าตัวเองคือใครและกล้าทำสิ่งที่ตัวเองรักให้ผู้อื่นได้ประโยชน์ครับ
.
🇺🇸🇬🇧อยากให้ลูกได้ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยในฝัน สามารถปรึกษาฟรีเพื่อวางแผนการสมัครได้ที่
Add Line OA: @everlearnx
.
🎉 การันตีความสำเร็จโดยพี่ๆ ที่เคยติด Harvard, Stanford, Wharton, MIT, Columbia, UCLA, Oxford, Cambridge ช่วยแนะแนวทางให้ลูกแบบเจาะลึก